วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ต้นดิ๊กเดียม



ต้นดิ๊กเดียม



ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gordenia  turgid  Roxb
ชื่อ : กระเบียน กระดานพน จิ๊เดียม มะกอกพราน มุ่ยแดง หมุยขาว กอกฟานซ้อม
ลักษณะต้น : เป็นต้นไม้ยืนต้นสูง 4-10 เมตร เปลือกต้นและกิ่งจะมีสีน้ำตาลออกหม่นๆ และมีลักษณะตะปุ่ม ตะป่ำ ตามกิ่งจะมีหนามแหลม เป็นแบบ Thorn



ใบ : ใบเดี่ยว ยาว 3-10 เซนติเมตร รูปไข่กลับหรือรูปซ้อนใบสีเขียวเข้ม เส้นใบสีเหลืองอมเขียว ออกตรงข้ามและจะออกเป็นกระจุก 1-3 ใบ

ดอก : ดอกเดียว ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง ดอกมีสีขาวครีม เป็นดอกที่สมบูรณ์เพศ รังไขเป็นแบบ Inferior ovary มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกจะบานประมาณเดือน กุมพาพันธ์ – มีนาคม ดอกจะทยอยบานใช้เวลาประมาณ 10 วัน จึงร่วงหมดต้น

ผล : มีลักษณะกลมขนาด 2-2.5 เซนติเมตร ผิวผลอ่อนจะมีขนนุ่มสีน้ำตาลเข้ม ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก จำนวนมาก


  
ต้นดิกเดียม  ในตำรับยาพื้นบ้านล้านนา
การสอบถามและสัมภาษณ์คนเก่าคนแก่ในท้องที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน เกี่ยวกับต้นดิ๊กเดียม วัดปรางค์ต้นนี้ว่า รู้จักมาตั้งแต่เด็ก มีอายุถึงปัจจุบันประมาณ 100 ปีเศษ โดยการเล่าขานสืบต่อกันมา
 เป็นต้นไม้ที่ หมอเมือง(หมอพื้นเมือง) ใช้เป็นยารักษาโรค และเขียนไว้ในตำรายาพื้นบ้าน ทุกส่วนของต้นดิกเดียว ทั้งราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ด สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้
     เสน่ห์ของต้นดิ๊กเดียม   ถ้ามีการเกา (ขูด) หรือถูกหยิกจะพบว่ากิ่งก้านบางกิ่งที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า จะมีการสั่นระริก สำหรับคนเดินป่าอีกประการหนึ่ง  คือ เวลาออกดอก ใบจะร่วงเกือบหมดต้น จะส่งกลิ่นหอมเย็น ๆ ในช่วงพลบค่ำ จนถึงรุ่งเช้า ดอกที่บานจะทยอยร่วงสู่พื้น  และดอกใหม่จะทยอยร่วงอีก  ในช่วงพลบค่ำ เป็นเช่นนี้จนดอกบานหมดต้น
     ต้นดิ๊กเดียม วัดปรางค์  เคยเป็นฉากประกอบภาพยนตร์ เรื่อง ตะวันยิ้มแฉ่ง แลกออกรายการทางสถานีโทรทัศน์ เช่น รายการสะเก็ดข่าว รายการตามไปดูช่อง 9 รายการที่นี่ประเทศไทย แฟนพันธ์แท้  ช่อง 5 ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ นิยมมาดูความมหัศจรรย์เป็นจำนวนมาก

การขยายพันธ์
พบทั่วไปในอินเดีย พม่า ซึ่งขึ้นประปรายตามป่า ผลัดใบ ขยายพันธ์ โดยการตอนกิ่ง สกัดราก

ประโยชน์
เนื้อไม้ ใช้ทำเครื่องเรือน
เปลือกต้น แก้ริดสีดวงทวาร
ราก แก้เสมหะเป็นพิษ  แก้อาการไม่ย่อย  ในเด็ก แก้พิษสุนักบ้า ใช้คุมกำเนิด
ใบ ตำพอกรักษาแผลสด
ดอก กินฆ่าพยาธิ์ ขยี้ทาแก้กลากเกลื้อน
ผล กินได้
น้ำมันในเมล็ด ทาแก้แผลมะเร็ง โรคเรื้อน


ดิ๊กเดียม ในตำรายาสมุนไพรล้านนา
        ตำรายาสมุนไพรของชาวไทยล้านนาภาคเหนือ นิยมบันทึกไว้ในใบลานขนาดสั้นหรือปั๊ปสา (สมุดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ในอดีต ทำด้วยกระดาษสา) นั้น ชื่อของต้นดิ๊กเดียม เช่น ดิเดียม ดิบเดียม ดิกดอย ดิกเดียม แต่ส่วนมากนิยมเรียกว่า ดิ๊กเดียม ดังปรากฏในใบลาน เช่น ยาขางสินบาดบนลูก สินบาดไฟ สินบาดลูกในเดือนไฟ หญ้าเยี่ยวหมู อ้อยดำ
 ดิ๊กเดียม ลูกฝ้ายดิบ รากคา เอาเท่ากัน ตำแล้ว เอารางเย็น ชะเอม หอยทละ ฝนใส่ น้ำข้าวจ้าว ยาขางราก  ขางซาง ขางลิดสีดวง ขางไฟ ขางเข้าใส่ ขางเลือด
เอาถ่านไฟผี รากหมากดูก  รางปา เรียวหมอง รากผักคันถง อ้อยช้าง รางเย็น  งาช้างนอแรด เขาเยือง ฝนใส่น้ำข้าวจ้าวกินแล….. เป็นขางเลือด หื้อแถบ รากดิ๊กเดียม  รากหมากแคว้งเข้าแถบ 

เอกสารอ้างอิง
จีรเดช มโนสร้อยและอรัญญา มโนสร้อย, เภสัชกรรมล้านนา
ตำรับสมุนไพรล้านนา สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข , 2537

ไซมอน การ์เนอร์ และคณะ , ต้นไม้เมืองเหนือ , กรุงเทพ โครงการจัดพิมพ์คบไฟ , 2543


มารู้จักวัดปรางค์กันเถอะ
                         ตั้งอยู่เลขที่ 149 บ้านปรางค์หมู่ที่ 3 ตำบลปัว  อำเภอปัว จังหวัดน่าน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพื้นที่ 6 ไร่ 3 งาน 63 ตารางวา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2230 
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2484 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 16 เมตร               ยาว 35 เมตร

                  


ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานของพระประธาน ชื่อ พระปรางค์มุนีศรีไตรเขต  ปัจจุบัน เปิดให้มีการเรียนการสอนโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนสามัญศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6